เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2556 Quarter1
หน่วยโครงงาน (Topic): "ชีวิตออกแบบได้"
เป้าหมาย(Uerstanding Goal)
1. เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของระบบต่างๆทั้งภายนอก ภายในร่างกาย
2. สามารถออกแบบวิถีชีวิตการกิน การอยู่และการดูแลสุขภาพได้
3. สามารถวางเป้าหมายชีวิตในแต่ละช่วงเวลาในการทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีความหมาย

week7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจระบบการทำงานและเห็นความสัมพันธ์ของระบบต่างๆในร่างกายได้
(ระบบประสาท,ระบบกล้ามเนื้อ,ระบบโครงกระดูก,ระบบสืบพันธุ์)


Week

Input

Process

Output

Outcome
7
24-28 มิ.ย.56




















โจทย์ :
- ลูกบอล
- เทียน
Key  Questions
- อาการมือสั่นเกิดขึ้นได้อย่างไร
- ไมเกรน/อัลไซเมอร์เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองระบบในร่างกาย
Wall  Thinking : โมเดลระบบต่างๆในร่างกาย

Mind Mapping : สรุปความเข้าใจจากการดูคลิปวีดีโอ

Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน Model ระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต
- คลิปวีดีโอ “Body Atlas Digest & Urine ” (ระบบประสาท,
ระบบกล้ามเนื้อ,ระบบโครงกระดูก,ระบบสืบพันธุ์)




ชง
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา

- ทดลองการเกิดปฏิกิริยารีเฟล็กซ์จากโยน-รับส่งลูกบอล /นั่งใช้สิ่งของเคาะที่เข่า  /จากเทียนที่จุดไฟ

เชื่อม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมทดลองและแสดงความคิดเห็นจากการทำกิจกรรม
ชง
-  ดูคลิปวีดีโอ “Body Atlas Digest & Urine ” (ระบบประสาท,ระบบกล้ามเนื้อ,ระบบโครงกระดูก,ระบบสืบพันธุ์)
เชื่อม
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอ
ใช้

- นักเรียนสรุปความเข้าใจจากการดูคลิปวีดีโอ ในรูปแบบ Mind Mapping

- ทัศนศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกาย

 เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการไปทัศนศึกษาที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชง
- นักเรียนชิม /จับ/ดู/ดมกลิ่น/ฟัง จากสิ่งของที่ครูกำหนดให้ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นและทำไมเราถึงมีความรู้สึกที่แตกต่างกัน ?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงานความคืบหน้าของการวางแผนงานการทำ Model ระบบการทำงานของร่างกายเพื่อนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้ฟัง
ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสร้าง Model ระบบการทำงานของร่างกาย เพื่อให้งานสมบูรณ์
เชื่อม
- นักเรียนนำเสนอModel ระบบการทำงานของร่างกาย
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ใช้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


- การแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอ
- สรุปความเข้าใจจากการดูคลิปวีดีโอ ในรูปแบบ Mind Mapping
- การไปทัศนศึกษาศึกษาที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- การตอบคำถาม
- โมเดลระบบต่างๆในร่างกาย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์  

ความรู้ :
เข้าใจเกี่ยวกับการทำงานและความสัมพันธ์ของระบบต่างๆในร่างกายได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม 
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์ระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย
- การสังเคราะห์ สร้างสรรค์โมเดลระบบต่างๆในร่างกาย
ทักษะ ICT
การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของ
ระบบต่างๆของร่างกาย
ทักษะการแก้ปัญหา
การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน โมเดลระบบต่างๆในร่างกาย
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน




ตัวอย่างบันทึกหลังการเรียนรู้ของนักเรียน








ตัวอย่างภาพกิจกรรม






1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ 7 ของการเรียนรู้โครงงาน “ชีวิตออกแบบได้” ของพี่ๆป.4 เด็กๆได้ทดลองการทำงานของปอด โดยใช้ลูกโป่งและแท่งหลอดพลาสติกในการประกอบชุดการทดลอง หลังจากนั้นครูแดงและครูอ้อมให้เด็กๆได้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันจากกิจกรรมที่ทำ ซึ่งโดยภาพรวมทุกคนบอกว่าเมื่อเราหายใจเข้าไปทำให้ปอดขยายตัว หายใจออกปอดจะแฟบลง แต่ถ้าคนที่ได้รับอากาศที่เป็นพิษหรือเวลาที่เราหายใจไม่สะดวก ก็จะส่งผลต่อปอดของเรา อย่างเช่น พี่กอล์ฟ บอกว่าตอนที่ทดลองอากาศเข้าไปในลูกโป่ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ผมรู้สึกเหมือนว่าถ้าเกิดปอดของคนเรารั่วจะเป็นอย่างไร ? จะยังหายใจอยู่ได้หรือเปล่าครับ และในวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2556 เด็กๆและผู้ปกครองได้ไปทัศนศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงาน ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีคณะวิทยากรอาจารย์หมอให้ความรู้ ได้เห็นได้สัมผัสกับอาจารย์ใหญ่ที่อุทิศร่างกายเพื่อการเรียนรู้ สังเกตเห็นเด็กๆกระตือรือร้นในการเรียนรู้ การถาม-ตอบกับอาจารย์หมอและสามารถที่จะอยู่ภายในห้องกายวิภาคได้โดยไม่รู้สึกกลัว เมื่อเสร็จกิจกรรมคุณครู เด็กๆและผู้ปกครองได้ร่วมกันร้องเพลงแผ่เมตตา เพื่อขอบคุณกับอาจารย์ใหญ่และคณะวิทยากรอาจารย์หมอ

    ตอบลบ