เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2556 Quarter1
หน่วยโครงงาน (Topic): "ชีวิตออกแบบได้"
เป้าหมาย(Uerstanding Goal)
1. เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของระบบต่างๆทั้งภายนอก ภายในร่างกาย
2. สามารถออกแบบวิถีชีวิตการกิน การอยู่และการดูแลสุขภาพได้
3. สามารถวางเป้าหมายชีวิตในแต่ละช่วงเวลาในการทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีความหมาย

week6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจระบบการทำงานและเห็นความสัมพันธ์ของระบบต่างๆในร่างกายได้
(ระบบย่อยอาหาร,ระบบหายใจ,ระบบขับถ่าย,ระบบไหลเวียนเลือด)


Week

Input

Process

Output

Outcome
6
17-21 มิ.ย.56
โจทย์ :
- ลูกโป่ง 
- วิ่ง/เดิน/นั่ง/นอน/ตกใจ/ดีใจ
Key  Questions
- ทำไมเราต้องหายใจ ?
- ทำไมเราต้องมีเลือด ?
- การหาวเกิดจากอะไร ?
- ทำไมจึงเกิดโรคกระเพาะ?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองระบบในร่างกาย
- การออกแบบ Model ระบบการทำงาน
Wall  Thinking : โมเดลระบบต่างๆในร่างกาย
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน Model ระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต
- คลิปวีดีโอ “Body Atlas Digest & Urine ” ” (ระบบย่อยอาหาร,ระบบหายใจ,ระบบขับถ่าย,ระบบไหลเวียนเลือด)
- เครื่องวัดการเต้นของหัวใจอัตโนมัติ



ชง
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
-  ดูคลิปวีดีโอ “Body Atlas Digest & Urine ” (ระบบย่อยอาหาร,ระบบหายใจ,ระบบขับถ่าย,ระบบไหลเวียนเลือด)
เชื่อม
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอ
ชง
- นักเรียนทำกิจกรรมการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น วิ่ง เดิน นั่ง นอน ตกใจ ดีใจ
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
ชง
- ครูนำลูกโป่งมาให้นักเรียนกลุ่มละ 2 ลูก ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าลูกโป่งสามารถนำมาทดลองระบบการทำงานของร่างกายใดได้บ้าง?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ทำไมจึงเกิดโรคกระเพาะ?  ทำไมเราต้องหายใจ?
เชื่อม
- แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระบบต่างๆในร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบการหายใจ ระบบประสาท ฯลฯ
ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนและทำ Model ระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย
เชื่อม
- นักเรียนนำเสนอข้อมูลจากที่ได้ค้นคว้า
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ใช้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- การวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้ดู
- การศึกษาข้อมูล และจัดกระทำข้อมูล
- กิจกรรมการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น วิ่ง เดิน นั่ง นอน ตกใจ ดีใจ
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- การตอบคำถาม
- โมเดลระบบต่างๆในร่างกาย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์  

ความรู้ :
เข้าใจเกี่ยวกับการทำงานและเห็นความสัมพันธ์ของระบบต่างๆในร่างกายได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม 
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์ระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย
- การสังเคราะห์ สร้างสรรค์โมเดลระบบต่างๆในร่างกาย
ทักษะ ICT
การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของ
ระบบต่างๆของร่างกาย
ทักษะการแก้ปัญหา
การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน โมเดลระบบต่างๆในร่างกาย
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน



ตัวอย่างบันทึกหลังการเรียนรู้ของนักเรียน




ตัวอย่างภาพกิจกรรม















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 6 ของการเรียนรู้โครงงาน “ชีวิตออกแบบได้” ของพี่ๆป.4 เด็กๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย เด็กๆได้ดูคลิปวีดีโอ “ระบบย่อยอาหารและระบบขัยถ่าย” หลังจากนั้นครูแดงและครูอ้อมให้เด็กๆสรุปสิ่งที่ได้ดู และจับฉลากเกี่ยวกับระบบต่างๆในร่างกายเพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูล โดยอีกหนึ่งกิจกรรมคือการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น นอน นั่ง ยืน เดิน กระโดด วิ่ง ตกใจ ดีใจ จากนั้นทุกคนสรุปสิ่งที่ตนเองรู้สึกจากกิจกรรมที่ทำ ซึ่งเด็กๆ บอกว่า ตื่นเต้นมากไม่เคยได้ยินเสียงของหัวใจตนเองเลยเป็นครั้งแรกที่ได้ยิน อย่างเช่น “พี่คอร์ดบอกว่าผมเคยคิดว่าถ้าเรากลั้นหายใจไว้แล้วหัวใจของเราจะหยุดเต้น แต่พอครูให้ลองกลั้นหายใจและใช้มือสัมผัสที่หัวใจปรากฏว่า หัวใจยังเต้นปกติ ผมดีใจครับ” เด็กๆได้เปลี่ยนกันวัดอัตราการเต้นหัวใจให้กับเพื่อนๆ ครูแดงและครูอ้อม ถามกับเด็กๆว่ารู้สึกอย่างไร? ทุกคนสามารถบอกได้ว่า ขณะที่ทำกิจกรรมตื่นเต้นตลอดเวลา และมีเหตุการณ์ใดบ้างที่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็ว? เด็กๆตอบว่า เช่น ดีใจ ตกใจ อยู่บนที่สูงๆ เวลาที่เราพูดไม่จริง เวลาที่เราทำผิด เวลาที่เราโกรธ แล้วถ้าหัวใจเราเต้นเร็วผิดปกติจะเกิดอะไรขึ้น? เด็กๆตอบว่า อาจทำให้เราหน้ามืด เป็นลม ช็อกหมดสติ หัวใจวายตาย สัปดาห์นี้ทุกคนได้นำเสนอชิ้นงานชาร์ตความรู้เป็นกลุ่ม และร่วมกันสรุปสัปดาห์ค่ะ

    ตอบลบ